เมื่อเปรียบเทียบในรายละเอียด จะเห็นชัดเจน ว่าส่วนประกอบทางเคมีของเกรด SS400 ควบคุม เพียงค่า P (Phosphorus), และ S (Sulfur) ซึ่งหากมี ปริมาณมากทำให้ท่อเหล็กเปราะและเกรดนี้ไม่ได้ควบคุม ค่า Carbon ซึ่งเป็นธาตุที่เพิ่มความแข็งแรงของเหล็ก แต่หากมีมากเกินไปทำให้เหล็กมีความเปราะเพิ่มขึ้น ในขณะที่ SM400 หรือ SM490 ควบคุมปริมาณ Carbon, Silicon, Manganese ในระดับที่เหมาะสมและ มีธาตุ Phosphorus, Sulfur ในระดับต่ำ ทำให้เหล็ก มีความเปราะต่ำ มีความเหนียวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ คุณสมบัติทางกลด้านความยืด (Elongation) และ ความทนต่อแรงกระแทก (Impact) ดีขึ้น ดังนั้นเกรด SS400 จึงใช้ในงานโครงสร้างทั่วไปที่มีการตัด เจาะรู ขันน็อต และเชื่อมได้ แต่ควรควบคุมการให้ความร้อน ก่อนและหลังการเชื่อม ส่วนเกรด SM400, SM490 มีคุณสมบัติต่างๆ ดีขึ้น โอกาสแตกร้าวจากรอยเชื่อม ต่ำลง มีความเหนียว และมีคุณสมบัติทนทานต่อแรง กระแทกที่ดีกว่า และเป็นเกรดที่เหมาะกับงานเชื่อม รวมถึงงานดัดโค้ง ซึ่งโครงการส่วนใหญ่สามารถนำไป ใช้งานได้เป็นอย่างดี
วิศวกรสามารถกำหนดท่อประเภทต่างๆ ตาม ความเหมาะสมในการใช้งาน โดยอ้างอิงจากมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ (Specification of pipe) ซึ่งท่อเหล็กกล้า แต่ละมาตรฐานมีข้อกำหนดการใช้งานแตกต่างกันตาม ประเภทของภาระที่กระทำต่อท่อ เนื่องจากเหล็กม้วน (Hot roll steel) ที่นำมาผลิตเป็นท่อมีคุณสมบัติทางกล และทางเคมีที่แตกต่างกันตามตารางที่แสดงดังเช่น ต้องการท่อเหล็กโครงสร้างรูปพรรณกลวง มอก. 107-HS41, หรือ JIS G3444 – STK400, JIS G3466 – STKR400 ต้องใช้เหล็กม้วน (Hot roll steel) JIS G3101Grade SS400, หรือ JIS G3106 Grade SM400A, TIS 1479 Grade SS400, TIS 1499 Grade SM400A เป็นต้น มาตรฐานผลิตภัณฑ์และ Designation Classification ของเหล็กม้วนมีความ หลากหลายมาก วิศวกร หรือผู้ออกแบบสามารถเข้าไป ปรึกษากับโรงงานผู้ผลิตเพื่อขอคำแนะนำทางด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองให้ผู้ใช้งานได้ประโยชน์สูงสุด